เภสัชกรทำงานที่ไหนได้บ้าง นอกจากร้านยา

 
เภสัชกรทำงานที่ไหนได้บ้าง นอกจากร้านยา
ถ้าพูดถึง "เภสัชกร" เราจะคิดถึงร้านขายยาทันที แต่จริง ๆ แล้ว  เภสัชกรสามารถทำงานได้หลากหลายมาก ๆ ที่ไม่เฉพาะในร้านยาเพียงอย่างเดียวเช่น เภสัชกรทำงานในโรงพยาบาล ด้านอุตสาหกรรมยา หรือหน่วยงานของรัฐและเอกชนรวมถึงสายงานธุรกิจและงานวิจัย วันนี้  Pharm-Job จะพาทุกคนไปดูกันว่าอาชีพสายงานเภสัชกรสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง ยกตัวตัวอย่าง 7 สายงาน ดังนี้
 
1.เภสัชกรโรงพยาบาล
เภสัชกรในโรงพยาบาล ทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย ให้คำแนะการใช้ยา และจ่ายยาตามใบคำสั่งแพทย์ซึ่งเภสัชกรจะทำงานร่วมกับแพทย์ในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย รวมไปถึงหน้าที่หลัก ๆ เภสัชกรจะมีส่วนช่วยในการตรวจเช็คคลังยา สต็อกยา ดูวันผลิต วันหมดอายุการใช้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ 
 
2.เภสัชกรในอุตสาหกรรมยา
ในสายอาชีพเภสัชกรอุตสาหกรรมยา ทำหน้าที่วิจัยยา ออกแบบ ควบคุมคุณภาพยา ประกันคุณภาพยา พัฒนายาตัวใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการรักษา สถานที่การทำงานห้องปฏิบัติการ ห้องทดลองยา หรือ โรงงาน เป็นส่วนใหญ่ ค่าตอบแทนในสายอาชีพนี้ค่อนสูงมาก ๆ  เพราะสายอาชีพเภสัชกรอุตสากกรรมยามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมีความรับผิดชอบสูง  ดังนั้นสำหรับสายอาชีพนี้เหมาะกับคนที่ชอบทำงานในห้องแล็บ รักการทดลอง เพื่อพัฒนายาในการรักษาผู้ป่วย
 
3.บริษัทนำเข้ายา
 เภสัชกรในบริษัทนำเข้ายามีหน้าที่คัดเลือกยาที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และควบคุมคุณภาพยา การขึ้นทะเบียนยา การให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับยา บางบริษัทเภสัชกรอาจจะมีหน้าที่ในการดูแล
4.หน่วยงานราชการ หน่วยงานหลัก ๆ ที่เราจะรู้จักในสายงานเภสัชกรก็จะมี ดังนี้
-หน่วยงานราชการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่ช่วยในการพัฒนาระบบยา เช่น การวิเคราะห์และประเมินผลการใช้ยา ราคา การให้แนะนำเกี่ยวกับยาและการประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสุขภาพ
-  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  ทำหน้าที่ดูแลตรวจสอบประสิทธิของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยา  อาหาร เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ ให้ปลอดภัยก่อนจำหน่ายและให้คำปรึกษาข้อมูลการใช้ยาต่าง ๆให้กับผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ในการใช้ผลิตภัณฑ์รวมไปเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการกระทำผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
 
5.ผู้แทนยา 
 เภสัชกรสามารถทำงานเป็นผู้แทนยา นำเสนอและขายยาให้กับโรงพยาบาลหรือคลินิก ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับผิตภัณฑ์ยาได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและติดตามความเคลื่อนไหวทางการตลาดและวิชาการ ส่งเสริมการขาย ติดตามผลการใช้ยาของลิตภัณฑ์นั้น ๆ 
 
6.โรงงานยา 
เภสัชกรในโรงงานยามีหน้าที่วิเคราะห์และควบคุมคุณภาพยาในกระบวนการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ และการฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งบทบาทสำคัญเพื่อความปลอดภัยและมีปรสิทธิภาพต่อสาธารณชนในการใช้ยา
7.อาจารย์/นักวิชาการ
เภสัชกรสามารถเป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในรื่องการพัฒนายาและเวชภัณฑ์ การบริบาลผู้ป่วย และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาและสุขภาพ ให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษาในด้านการเรียน การวิจัย และการพัฒนาวิชาชีพ
 
ตัวอย่างงาน

ดังนั้น  เภสัชกรทำงานที่ไหนได้บ้าง นอกจากร้านยา บอกเลยว่าสายงานเยอะมาก ๆ ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากที่ทางเว็บไซต์แนะนำได้เลยนะคะ หากเรามีสายงานที่สนใจแบบพิเศษ เพราะยังมีอีกสายงานเลยค่ะที่เภสัชกรสมารถทำงานนอกจากร้านยาได้ค่ะ