( Online ) โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Food Allergy & Urticaria Hacks in Drugstores แพ้อาหารและลมพิษ รับมืออย่างไรในร้านยา”

> หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทยโรคแพ้อาหารพบในผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยในเด็กสูงกว่าในผู้ใหญ่ ศ.พญ.อรพรรณ
โภชนุกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์กล่าวถึงสถานการณ์การแพ้อาหารในประเทศ
ไทย จากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะภูมิแพ้ชนิดรุนแรงในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์พบว่า
ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 มีสาเหตุจากการแพ้อาหารประเภท นมวัว ไข่ไก่และอาหารทะเล ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ
ภาวะภูมิแพ้ชนิดรุนแรงในประชากรไทย สาเหตุที่พบรองลงมาได้แก่ การแพ้ยาและแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย ข้อมูล
ดังกล ่าวสะท้อนให้เห็นว ่าโรคแพ้อาหารยังเป็นปัญหาใหญ ่ของประเทศแต ่ที ่ผ ่านมายังไม ่มีการให้ความสําคัญ
เท่าที่ควร โดยเฉพาะการให้การรักษาที่ถูกต้อง
เภสัชกรมีบทบาทสําคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้ง
ในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจําเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและ
แนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่ผู้ป่วยมักเข้ามาปรึกษาที่ร้านยาก่อนเป็นขั้นแรก อย่างเช่นการแพ้อาหาร ซึ่ง
แม้เป็นโรคไม่ติดต่อ แต่อาจมีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน เภสัชกรจึงควรเข้ามามีบทบาทในการดูแล
ด้านยาเมื่อผู้ป่วยมีการแพ้อาหาร มีผื่นแพ้ลมพิษแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง มีการจัดการข้อมูลที่จะทําให้การ
วิเคราะห์สถานการณ์ได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น สามารถรับมือและวิเคราะห์ได้ว ่าการแพ้รูปแบบใดที ่จะต้องส ่งต่อ
โรงพยาบาลโดยทันทีดังนั้นความรู้ที่ครบถ้วนแม่นยําทั้งการรักษา การเลือกใช้ยา ถือเป็นปัจจัยสําคัญต่อการให้
คําปรึกษาในร้านขายยาของเภสัชกร การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงส่งผลการรักษาที่ยั่งยืนของผู้ป่วย การ
พัฒนาบทบาทของเภสัชกรเรื่องโรคหืดจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง

> วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุอาการแสดง เกณฑ์การประเมินความรุนแรงของโรคแพ้อาหาร และลมพิษ
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้เกี่ยวกับยารักษาของโรคแพ้อาหาร และลมพิษ
3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของเภสัชกรร้านขายยาในการรักษาโรคแพ้อาหาร และลมพิษ โดยเฉพาะการรับมืออาการแพ้อาหารที่รุนแรง การให้คําแนะนําในการดูแลตนเอง และการควบคุมอาการให้คงที่อย่างต่อเนื่อง

 

สมัครเข้าร่วม

- สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา ) E-mail : osotsala@pharm.chula.ac.th โทร : 02-218-8428 เภสัชกร ที่สนใจจํานวน 100-150 ท่าน

ที่มา  ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม