ใช้แบคทีเรียในการสร้างโมเลกุลยา

ในปี พ.ศ.2561 มีผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 228 ล้านราย เสียชีวิต 405,000 คน ส่วนเชื้อปรสิตที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็ดื้อต่อการรักษาจากยาปฏิชีวนะมากขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้นักวิจัยต้องคิดค้นยาใหม่ๆ รวมถึงการแทรกแซงอื่นๆ เพื่อมุ่งสู่การกำจัดโรคมาลาเรียให้สำเร็จ

 

แต่หนทางการพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่ๆที่จัดการกับโรคอย่างมีประสิทธิภาพอาจใกล้เข้ามาแล้ว หลังจากนักวิจัยของมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ในอังกฤษ ได้ออกแบบแบคทีเรียเพื่อผลิตโมเลกุลของยาปฏิชีวนะที่มีศักยภาพรุ่นใหม่บางชนิด มีคุณสมบัติต้านเชื้อมาลาเรียดื้อยา นั่นคือโมเลกุลเรียกว่าสารไวโอเลซีน (violacein) สามารถฆ่าเลือดของปรสิตพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum) ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรียได้

สารไวโอเลซีนเกิดขึ้นตามธรรมชาติในแบคทีเรียบางตัว แต่ยากที่จะแยกและทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งจะมีต้นทุนสูงและใช้เวลาในการผลิต นักวิจัยเผยว่าได้สร้างเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล (E.coli) เพื่อผลิตไวโอเลซีนในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย จากนั้นก็ทดสอบความสามารถของอนุพันธ์เหล่านี้ในการฆ่าปรสิตมาลาเรียในห้องปฏิบัติการทดลอง นักวิจัยพบว่าอนุพันธ์ตัวหนึ่งมีศักยภาพมากกว่าสารไวโอลินดั้งเดิมประมาณ 20% เชื่อว่าจะเปิดประตูไปสู่การพัฒนายาใหม่ๆ และค้นหาโมเลกุลอื่นๆ ที่ทำงานในเป้าหมายเดียวกัน.

 https://www.thairath.co.th/news/foreign/1847326