นักวิทยาศาสตร์อิตาลี ชี้ “ยารักษาโรคข้ออักเสบ” อาจเป็นหนึ่งตัวช่วยรักษา โควิด19

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเร่งพัฒนาวิธีและวัคซีนที่สามารถยับยั้งไวรัสร้ายนี้ ด้วยการศึกษาทำความเข้าใจไวรัสในเชิงลึกยิ่งขึ้นพบว่ามีผู้ป่วยโรค โควิด19 จำนวนหนึ่งที่เกิดอาการจากการหลั่งไซโตไคน์ (CRS) หรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปลุกฤทธิ์เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเรียกกันว่า ‘พายุไซโตไคน์’ (Cytokine Storm) และอาจลุกลามสู่การทำงานล้มเหลวของอวัยวะอย่างร้ายแรงในที่สุด

 

ในการศึกษาทางคลินิกหลายครั้งเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่านักวิทยาศาสตร์ในบางประเทศพบว่า ‘โทซิลิซูแมบ’ (Tocilizumab) หรือยารักษาโรคข้ออักเสบ มีแนวโน้มป้องกันการอักเสบรุนแรงในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ป่วยหนักได้

‘โทซิลิซูแมบ’ ซึ่งเป็นโปรตีนที่มนุษย์ออกแบบมาเพื่อรักษาโรคไขข้ออักเสบ ด้วยวิธีขัดขวางการเกิดภาวะอักเสบของร่างกาย ถูกเลือกมาใช้สำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการจากการหลั่งไซโตไคน์ในระยะปลาย

 

ผลการวิจัยช่วงปลายเดือนเมษายนที่ดำเนินการโดยโรงพยาบาลปารีสในเครือเอพี-เอชพี (AP-HP) ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากไวรัสดังกล่าวในระดับปานกลางถึงรุนแรง ซึ่งรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 129 ราย

ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย 129 รายได้รับการฉีดยายาโทซิลิซูแมบ 2 ครั้ง รวมถึงการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะตามปกติ ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งได้รับแค่ยาปฏิชีวนะในระดับมาตรฐาน

 

ทีมวิจัยไม่ได้เปิดเผยผลลัพธ์ที่แน่ชัดของการรักษา แต่ระบุว่าการทดลองนี้แสดงให้เห็น “ผลประโยชน์ทางคลินิก” ของการรักษาด้วยยาโทซิลิซูแมบอย่างชัดเจน

แมนดีพ อาร์. มีฮรา ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลบริกแฮมและสตรีได้แนะนำระบบการจำแนกอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงพร้อมระบุวิธีการรักษาที่ต้องปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละระดับ

 

“มีผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนน้อยที่จะเข้าสู่ระยะที่สาม อันเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด โดยแสดงให้เห็นอาการอักเสบรุนแรงนอกปอดในทุกระบบของร่างกาย (Extrapulmonary Systemic Hyperinflammation Syndrome)” เขาเขียนเช่นนี้ในบทความที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ในวารสารการปลูกถ่ายหัวใจและปอด (Journal of Heart and Lung Transplantation) จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน

วิธีรักษาที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโควิด-19 ระยะที่ 3 จึงอยู่ที่การลด “การอักเสบในระบบของร่างกายก่อนที่มันจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะหลายส่วนอย่างใหญ่หลวง” มีฮรา ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดกล่าว

 

เขายังแนะนำให้ใช้สารยับยั้งไซโตไคน์ “เช่น โทซิลิซูแมบ หรือ อะนาคินรา (Anakinra)” ซึ่งล้วนเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบ เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิต

เปาโล แอสแชร์โต (Paolo Ascierto) ผู้อำนวยการหน่วยภูมิคุ้มกันบำบัดและนวัตกรรมบำบัดเพื่อรักษาเมลาโนและมะเร็งของ ‘มูลนิธีจี. ปาสคาล’ สถาบันเนื้องอกแห่งชาติในเมืองเนเปิลส์ อิตาลี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า ผู้คนเริ่มเห็นปฏิกิริยาที่เชื่อมโยงกันของ “ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง” กับการเริ่มใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

“โทซิลิซูแมบเป็นยาที่เราคุ้นเคยอย่างยิ่ง เพราะเราใช้มันในการรักษาอาการจากการหลั่งไซโตไคน์ ที่ขัดขวางการรักษาด้วยแอนติบอดี ในการทดลองทางคลินิกของภูมิคุ้มกันบำบัด” แอสแชร์โตระบุพร้อมเสริมว่าเขาสังเกตเห็นว่า “พายุไซโตไคน์นั้นคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) จากโรคโควิด-19”

“นี่เป็นที่มาของแนวความคิดของเรา (การใช้โทซิลิซูแมบในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19)” เขากล่าว

แอสแชร์โตกล่าวว่าทีมของเขาได้ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญของจีน ในช่วงแรกที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19

เขาบอกว่าเขากำลังรอผลการตรวจสอบจากหน่วยงานด้านยา ซึ่งผลลัพธ์เหล่านั้น “จะบอกเราว่ายาดังกล่าวมีผลรักษาในทางวิทยาศาสตร์หรือไม่” แอสแชร์โตกล่าว

ภาพ China Xinhua News

 https://www.brighttv.co.th/news/global/covid-19-keeper